แม่สะดวกลูกสบายขึ้น-ลง รถไฟฟ้าได้ง่ายๆกับ CTS

ด้วยปัจจุบันนี้ การคมนาคมขนส่งในประเทศไทยถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การเดินทางมีให้เลือกหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากที่สุด สำหรับการเดินทางที่เร่งด่วนละสะดวกสบาย แต่สำหรับคุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปกับลูกน้อยด้วยรถไฟฟ้า บอกเลยคงไม่สะดวกเท่าไหร่ หากคุณแม่ต้องแบกรถเข็นเด็กที่มีน้ำหนักมากและต้องอุ้มลูกน้อยไปพร้อมๆกัน แถมยังต้องรอต่อคิวแสนยาวเพื่อซื้อบัตรรถไฟฟ้า รอสอดบัตร ต้องเดินผ่านฝ่ายรักษาความปลอดภัยเพื่อตรวจกระเป๋า และต้องเดินขึ้นบันไดอีกหลายสิบขั้นเพื่อไปยืนรอรถไฟฟ้า แต่ถึงแม้ว่าคุณแม่จะเลือกที่จะขึ้นบันไดเลื่อนหรือลิฟท์ก็ยังดูทุลักทุเล ไม่สบายเอาซ่ะเลย แค่คิดก็เหนื่อยแทนคุณแม่แล้วค่ะ!!!

bts_1(1)

…จะดีแค่ไหนหากมีตัวช่วยให้คุณแม่และลูกน้อย เดินทางขึ้น-ลงรถไฟฟ้าง่ายๆ และคล่องตัวกับ นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก Aprica ที่คิดค้นมาเพื่ออำนวยสะดวกสำหรับคุณแม่ที่จำเป็นต้องเดินทางพร้อมลูกน้อยเพียงแค่ 2 คน

Karoon plus CTS-1040x1040

Carry Travel System (CTS) นวัตกรรมใหม่ในการใช้รถเข็นและเป้อุ้มเข้าด้วยกัน เป็นตัวช่วยให้คุณแม่พร้อมออกเดินทางได้ทุกสถานการณ์ รวดเร็วและสะดวกในการปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามไลฟ์สไตล์ของคุณแม่ คุณแม่สามารถเลือกใช้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างง่ายดาย

เขย่าลูกเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เกิดโรค Shaken Baby Syndrome อันตรายถึงชีวิต!

Shaken Baby Syndrome  ฟังดูอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคุณพ่อคุณแม่คนไทยสักเท่าไรน่ะคะ แต่สำหรับต่างประเทศแล้วตระหนักว่าโรคนี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายๆ กับคุณแม่มือใหม่ มิหนำซ้ำความรุนแรงยังอันตรายถึงชีวิตลูกน้อยเลยน่ะคะ

Shaken Baby Syndrome  คือโรคที่มักพบในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี เกิดจากการที่พ่อแม่จับลูกเขย่าแรงๆอาจจะด้วยความตั้งใจ หรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม แรงเขย่านั้นจะทำให้เนื้อสมองกระแทกกับกะโหลกศรีษะ จนสมองได้รับการกระทบกระเทือนและมีเลือดออก เพราะเส้นเลือดในสมองของเด็กเล็กๆยังไม่แข็งแรง โอกาสที่มีการฉีกขาดจึงมีมากกว่าผู้ใหญ่

hqdefault

สาเหตุใดการเขย่าถึงกับทำให้ทารกน้อยพิการ หรือเสียชีวิต ?

หากดูทั่วไปแล้วเด็กที่ถูกเขย่า จนเป็นโรค Shaken Baby Syndrome นั้นมักจะไม่ค่อยทิ้งร่องรอยภายนอก จึงไม่ได้รับการรักษาปล่อยทิ้งไว้เพราะความไม่รู้ จึงทำให้เด็กมีดอกาสเสี่งเสียชีวิต ก็มีโอกาสตาบอดเป็นลมชัก หรือถ้ารอดก็มักมีปัญหาด้านการเรียนรู้ หรือสติปัญญาต่อไป

วิธีสังเกตเด็กว่ามีภาวะเสี่ยงเป็นโรค Shaken Baby Syndrome หรือไม่

อาการเริ่มแรกของผลกระทบจากการเขย่าเด็กรุนแรงก็คืออาเจียน หรือหายใจลำบาก ซึ่งคล้ายอาการของโรคที่ไม่รุนแรง เช่น ภาวะปวดท้อง 3 เดือน (โคลิก) กินนมมากเกินไป หรือให้นมไม่ถูกวิธี ดังนั้นจะต้องบอกคุณหมอว่าเด็กถูกเขย่าอย่างรุนแรง เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษาทันเวลา เพราะอาการ Shaken Baby Syndrome อาจมีผลให้สมองเด็กได้รับอันตราย หรือเลือดออกในสมองเพราะการเขย่ารุนแรง   ลูกอาจจะไม่รู้สึกตัว ช็อก ชัก หรือหยุดหายใจ บางคนถึงขั้นโคม่ามาเลยก็มี แต่ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เลือดออกด้วย ซึ่งต้องรีบรักษา มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อเด็ก จนอาจไม่สามารถช่วยชีวิตเด็กได้ทัน

ด้วยนวัตกรรม Aprica ได้พัฒนา ระบบการรองรับแรงสั่นสะเทือนโดยการพัฒนาส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ที่มีอยู่ในรถเข็นเด็ก Aprica ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมอบความนุ่มสบายแบบไร้แรงสั่นสะเทือนสำหรับลูกน้อย ที่เรียกว่า โครงสร้างแบบ Multi-Shockles ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

โครงสร้างแบบMulti-Shockles

1.เบาะรองนอน BREATHAIR ด้วยคุณสมบัติพิเศษของเส้นใยถักแบบ 3 มิติ แรงสั่นสะเทือนที่ส่งมาจากการเข็นบนพื้นที่ขรุขระ จะถูกกระจายออกผ่านช่องอากาศ ทำให้ลูกน้อยไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนเหมือนรถเข็นเด็กทั่วไป ช่วยเพิ่มความนุ่มสบายได้ดีเยี่ยม

breathair

2.โครงสร้างแบบลดรอยต่อ เพราะรถเข็นเด็กทั่วไปมักมีชิ้นส่วนต่อเข้าด้วยกันหลายชิ้น เมื่อผ่านการใช้งาน มักมีการขยับตัวเป็นสาเหตุให้โครงสร้างไม่แข็งแรงและเกิดการสั่นสะเทือนเมื่อเข็นในที่ขรุขระ แต่ด้วยโครงสร้างรถเข็นเด็กของ Aprica ที่เชื่อมต่อส่วนต่างๆ เป็นชิ้นเดียวช่วยเพิ่มความแข็งแรงแม้ผ่านการใช้งานที่ยาวนาน

3.ระบบรองรับแรงกระแทกที่ล้อ เพราะล้อคือส่วนประกอบแรกที่มีการสัมผัสกับพื้นผิวถนน ระบบรองรับแรงกระแทกที่มีคุณภาพจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นรองรับแรงสั่นสะเทือนจากพื้นผิวถนนขรุขระได้อย่างนุ่มนวล

***เขย่าลูกเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะด้วยความโมโห หรือเล่นรุนแรงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ Shaken Baby Syndrome ส่งผลต่อสมอง และอันตรายถึงชีวิต!

8.3.8 Principle the reason behind that smile

2

ที่ Aprica เราเชื่อว่าหลักการ 8.3.8 Principle คือ หัวใจหลักที่เรายึดมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างรอยยิ้มให้กับทุกครอบครัว


พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยแรกเกิดที่ยังไม่สมบูรณ์
8 อวัยวะและระบบในร่างกายทั้ง 8 ที่ยังอ่อนแอและบอบบาง ในช่วงวัยแรกเกิดอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายลูกน้อยเช่น สมอง ศีรษะ คอ กระดูกสันหลังซึ่งเป็นส่วนลำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบของเค้าจะบอบบางและอ่อนแอมาก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความระมัดระวังและดูแลเป็นพิเศษ

 1. ศีรษะและคอที่ยังไม่แข็งแรง

3

เด็กแรกเกิดจะมีขนาดศีรษะเท่ากับ 1 ใน 4 ของร่างกาย และถือได้ว่ามีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับ ขนาดของร่างกายโดยรวม

 2. ระบบหายใจที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่

5

ทารกจะใช้ท้องเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่ช่วยในการหายใจ บ่อยครั้งเมื่อบริเวณท้องงอตัวหรือถูกกดทับจะเกิดสภาวะหายใจติดขัดได้ง่าย

3. กระดูกสันหลังที่อ่อนและเป็นเส้นตรง

เด็กแรกเกิดจะมีแนวกระดูกสันหลังเป็นเส้นตรงสะโพกสามารถเคลื่อนได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรดูแลจัดให้สรีระอยู่ในท่านั่งและนอนที่เหมาะสมสามารถขยับแขนและขาได้ง่ายเป็นธรรมชาติ

4. อุณหภูมิในร่างกายที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่

เด็กทารกมีความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายต่ำ ดังนั้นการช่วยปรับอุณหภูมิแวดล้อมให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

5. การตื่นและนอนที่ยังไม่เป็นระบบ

เด็กแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน และจะเริ่มเรียนรู้ความแตกต่างของกลางวันกลางคืน เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4

6. ผิวหยังที่อ่อนโยนและขาดการปกป้อง

ผิวหนังของเด็กมีความหนาเพียงครึ่งเดียวของผิวผู้ใหญ่ จึงไวต่อสิ่งสัมผัสและแห้งง่าย ด้วยรูขุมขนที่ละเอียดเล็กจึงทำให้คลายความร้อนได้ช้า มีเหงื่อออกมาก

7. ประสาทสัมผัสที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่

ทารกจะมีระยะการมองเห็นสั้นๆเด็กจะรับรู้ข้อมูลส่วนใหญ่ผ่านการสัมผัสทางด้านร่างกาย

8. ระบบภูมิต้านทานที่อ่อนแอ

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กในวัยแรกเกิด จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่ติดตัวเด็กไปเป็นระยะเวลาหลายปี


3  พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กวัยแรกเกิด11

1.ความมั่นใจและสายใยแห่งความผูกพันธ์เกิดขึ้นได้จากกายสัมผัส
การสัมผัสด้วยการกอดและการสบตาจากแม่หรือคนรอบข้าง คือสิ่งมหัศจรรย์ที่ก่อให้เกิดความมั่นใจของลูกน้อย เมื่อแม่พยายามปลอบในเวลาที่ลูกร้อง การยิ้มตอบเมื่อแม่พูดคุยด้วย สิ่งเหล่านี้คือสายใยแห่งความผูกพันที่ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น และไว้ใจซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างให้ลูกมีบุคลิกและการแสดงออกในเชิงบวกได้


2. ประสาทสัมผัสทั้งห้าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น 12
เด็กในวัยแรกเกิด – 1 ปี จะพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยการนำเข้าปาก และเมื่อย่างเข้าสู่วัยขวบปีแรก เด็กจะสนใจอยากเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยการสัมผัสและการมอง ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เองจะเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการเรียนรู้และทักษะทางด้านร่างกาย การเรียนรู้โลกภายนอกด้วยการสัมผัสกับลมเบาๆและได้ยินเสียงจากธรรมชาติจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้อย่างดี


3. รอยยิ้มจากคนรอบข้างช่วยให้หนูน้อยมีพัฒนาการในการสื่อสารและเข้าสังคมได้ดี 13
เมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 2 เด็กจะเริ่มรู้จักการยิ้มซึ่งถือได้ว่าเป็นพัฒนาการแรกในการเข้าสังคมด้วยการมีปฏิกริยาโต้ตอบและบอกความรู้สึกให้ผู้คนรอบข้างได้รับรู้ความสามารถในการสื่อสารขั้นพื้นฐานนี้ จะได้รับการพัฒนาโดยเริ่มจากความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกและจะค่อยๆ พัฒนาไปสู่พ่อและบุคคลรอบข้าง


8 แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการปกป้องและดูแลเด็ก

141.จัดให้อยู่ในท่านอนราบ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรปรับเปลี่ยนให้สามารถรองรับสรีระท่านอนที่เป็นธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดการปิดกั้นทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเมื่อเด็กอยู่ในวัยแรกเกิด

2.  ปกป้องสมอง ศีรษะ คอ และกระดูกสันหลัง 15
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีจะต้องช่วยปกป้องศีรษะจากการกระทบกระเทือนรอบข้าง และช่วยจัดให้ศีรษะและคอตั้งตรงด้วยการรองช่วงต้นคอได้อย่างพอดี

16

3.  ปรับเปลี่ยนท่าอุ้มนั่ง นอน ตามพัฒนาการของเด็ก
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเด็กในช่วงขวบปีแรก และควรรองรับท่านั่งและนอนได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ส่งผลต่อการขยับแขนและขาของเด็ก

4.  มีระบบระบายอากาศที่ดี ช่วยลดความอับชื้น  17
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรจะมีระบบระบายอากาศและใช้วัสดุที่ช่วยลดความอับชื้นได้อย่างดี เพื่อช่วยปรับลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกายของเด็กในวัยแรกเกิดได้

18

5.  ปกป้องลูกน้อยจากฝุ่นควันและสารที่เป็นอันตราย
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรมีระดับความสูงจากพื้นที่เหมาะสมและใช้วัสดุที่สามารถถอดซักทำความสะอาดได้ง่าย เพื่อช่วยให้ทารกได้รับการปกป้องจากฝุ่นและสารที่เป็นอันตรายจากพื้น

6.  ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนได้ดี  19
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลดการกระแทกและการสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้สมองของลูกน้อยไม่ถูกกระทบกระเทือนและหลับสบายตลอดการเดินทาง

20

7.  มุ่งเน้นให้การนอนหลับได้อย่างสบาย และเป็นระบบ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีอย่างเปลไกวที่มีจังหวะการไกวที่เหมาะสมจะช่วยให้ทารกมีระดับการนอนที่สงบนิ่ง และช่วยพัฒนาช่วงเวลาการนอนในแต่ละวันให้เป็นระบบมากขึ้น

8.  ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างพ่อ แม่ ลูก  21

ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี ควรช่วยให้คุณแม่ดูแลลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งนอกจากจะเสริมสร้างสายใยความผูกพันธ์ระหว่างแม่และลูกผ่านการสัมผัส การมองเห็น แล้วยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สำหรับทารกได้อีกด้วย

Carry Travel System (CTS)

3

Carry Travel System(CTS)

นวัตกรรมใหม่ในการใช้รถเข็นเด็กและเป้อุ้มเข้าด้วยกัน เป็นตัวช่วยให้คุณแม่พร้อมออกเดินทางได้ทุกสถานการณ์

ด้วยฟังชั่นพิเศษ CTS ที่มีเฉพาะในรถเข็นเด็ก Aprica เท่านั้น จึงทำให้คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนการอุ้มลูกน้อย ด้วยเป้อุ้มเด็กไปพร้อมกับการใช้รถเข็นเด็กได้อย่างง่ายดาย พร้อมพาลูกน้อยเดินทางไปได้ทุกสถานการณ์

2

ขั้นตอนง่ายๆกับการใช้งาน (CTS) Carry Travel System

  1. ปลดล็อคสายเข็มขัดนิรภัยออกเพื่อถอดเป้อุ้มออกจากรถเข็นเด็ก
  2. นำสายสะพายเป้ที่ถูกซ่อนอยู่ใต้รถเข็นเด็กออก แล้วติดล็อคที่ด้านข้างให้เรียบร้อย
  3. คุณแม่สามารถอุ้มเจ้าตัวน้อยออกจากรถเข็นเด็ก

7

เป้อุ้มเด็กแรกเกิด – 3 ปี หรือน้ำหนัก 15 kg. เป็นเป้อุ้มที่สามารถใช้ควบคู่กับรถเข็นเด็กรุ่นที่มีระบบ CTS

9

10

รถเข็นเด็ก Aprica ที่ใช้แบบ CTS (Carry Travel System) มีให้เลือก 4 รุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นมีฟังชั่นที่แตกต่างกัน

รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Luxuna Comfort

รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Luxuna Dual

รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Luxuna Bonnie Blue

รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Luxuna Light